Last updated: 4 มิ.ย. 2567 | 1513 จำนวนผู้เข้าชม |
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตเป็นวัสดุยอดนิยมในงานก่อสร้างสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาคาร ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน, ห้างสรรพสินค้า, หรือโชว์รูม แต่ทำไมแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตจึงไม่ค่อยเห็นในงานบ้านพักอาศัยทั่วไป มันเป็นเพราะอะไร บทความนี้จะพาคุณไปไขข้อสงสัยให้ได้รู้กัน
ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตได้รับความนิยมในการใช้กับอาคารมากกว่าบ้านพักอาศัยมีดังนี้
1. ความทนทานต่อสภาพอากาศ
เนื่องจากแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีกว่าวัสดุอื่น เช่น ความร้อน ความเย็น และความชื้น จึงทำให้เหมาะกับอาคารที่ไม่ต้องการเวลาในการบำรุงรักษาบ่อย ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดที่ช่วยลดต้นทุนการบำรุงรักษาในระยะยาว
2. น้ำหนักเบาและติดตั้งง่าย
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตมีน้ำหนักเบาเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ทำให้ง่ายต่อการขนส่งและติดตั้ง ซึ่งส่งผลให้เหมาะกับอาคาร ที่ต้องการความรวดเร็วในการก่อสร้าง
3. ความยืดหยุ่นในการออกแบบ
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตมีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อแรงกระแทก สามารถดัด หรือตัด ให้เข้ามุมอาคารตามที่ต้องการได้ โดยตัวแผ่นจะไม่แตกหักง่ายแต่อย่างใด
4. สีสันและลวดลายเฉพาะ
แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต มีเฉดสีให้เลือกหลากหลาย เพื่อรองรับการออกแบบที่ไม่ซ้ำจำเจ ทำให้สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัยและดึงดูดสายตาผู้คนจำนวนมาก ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่อาคารส่วนใหญ่ต้องการอย่างมากในด้านธุรกิจ
5. ความคุ้มค่าต่อการลงทุน
แม้ว่าต้นทุนเบื้องต้นของแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตอาจสูงกว่าวัสดุก่อสร้างอื่นๆ แต่ด้วยความทนทานและต้นทุนการบำรุงรักษาที่ต่ำ ไม่ต้องบำรุงรักษาบ่อย จึงถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับอาคารที่มีการใช้งานหนักและต้องการความทนทานเป็นเวลานาน
สาเหตุที่บ้านพักอาศัยไม่ค่อยนิยมใช้แผ่นคอมโพสิต
1. ต้องการวัสดุธรรมชาติมากว่า
เพราะบ้านพักอาศัยเน้นความอบอุ่น การใช้วัสดุธรรมชาติมาตกแต่ง อาจดูตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยได้ดีกว่า
2. ต้องการความสงบ
บ้านพักอาศัยไม่ได้ต้องการดึงดูดผู้คนจำนวนมาก ให้มาสนใจเท่าอาคาร ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นคอมโพสิตที่มีสีสันฉูดฉาดมาตกแต่งบ้านให้คนอยากเข้าหา
3. ความคุ้มค่าต่อการลงทุน
บ้านพักอาศัยเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารจะดูมีพื้นที่ขนาดเล็ก ดังนั้นการใช้แผ่นคอมโพสิตมาตกแต่งปิดผิวภายนอก อาจดูไม่คุ้มกับงบประมาณที่เสียไป
1 ส.ค. 2567
1 ก.ค. 2567
2 พ.ค. 2567